วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จัดทำโดย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3



นางสาวชนิตร์นันท์ หนันต๊ะ ชื่อเล่น น้ำ


นางสาวธัญญาลักษณ์ เลือกรัมย์ ชื่อเล่น แจ๋ว


นางสาวนิตยา รักษา ชื่อเล่น ปุ๊

นายกิตติพงษ์ สีฉายา ชื่อเล่น อ๊อด


นายพัฒนพงษ์ ทะเรืองรัมย์ ชื่อเล่น โชติ


นายวานิด บ่างสมบูรณ์ ชื่อเล่น ท๊อป

Phylum Ascomycota

Phylum Ascomycota
Phylum Ascomycota เป็น saprobic หรือ symbiotic หรือ parasitic fungi มีทั้งที่เป็นเซลล์เดียวหรือเป็นเส้นสายที่มีผนังกั้น สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง ascospore ภายในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงที่เรียกว่า ascus ตัวอย่างพวกที่เป็นเซลล์เดียว เช่น ascomycetous yeast พวกที่เป็นเส้นสายได้แก่ Eurotium, Neosartorya ซึ่งเป็น sexual stage ของ Aspergillus และ Eupenicillium, Talaromyces เป็น sexual stage ของ Penicillium พวกที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้ง (powdery mildews)



Saccharomyces cerevisiae เป็นฟังไจเซลล์เดียว จัดเป็น ascomycetous yeast

Phylum Zygomycota



Phylum Zygomycota
ไฟลัมนี้มี 2 classes ได้แก่ class Zygomycetesและ Trichomycetes
ลักษณะสำคัญของ Zygomycetes คือ มีการสร้างresting spore ที่มีผนังหนา เรียกว่า zygospore ภายใน zygosporangium บางชนิดสามารถเจริญในลักษณะที่เรียกว่า dimorphic คือ เป็นเส้นสาย และเป็นเซลล์ยีสต์ได้ ตัวอย่างเชื้อราใน class นี้ ได้แก่ Rhizopus และ Mucor

Rhizopus oligosporus เจริญบนข้าวสุก




Rhizopus oligosporus เห็นอัปสปอร์ (sporangium) และ ก้านชูอัปสปอร์ (sporangiophore)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : TechnoInHome

Phylum Chytridiomycota

Phylum Chytridiomycota
Kingdom Fungi
Phylum Chytridiomycota
เซลล์ที่เคลื่อนที่ได้ (motile cells) ซึ่งอาจเป็น ได้ทั้ง zoospore หรือ gametes ก็ได้
ลักษณะสำคัญ คือ เป็น coenocytic structure รูปกลม หรือ รูปไข่ หรือ เป็นเส้นสาย มีการเปลี่ยนแปลงของzygote เป็น resting spore หรือ resting sporangium เป็น diploid thallusผนังเซลล์ประกอบด้วย chitin และ glucan ตัวอย่าง ได้แก่ Synchytrium และ Allomyces

Allomyces



Allomyces ย้อมสี


Synchytrium



Synchytrium ก่อโรคในมันฝรั่ง
ฟังไจ (FUNGI)
ฟังไจเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เป็นแบบยูแคริโอต ได้อาหารโดยวิธีการดูดซึมสารอาหารจากภายนอก ยกเว้นพวกราเมือก (slime mold) ซึ่งมีการกินอาหารแบบ phagocytosis ด้วย ฟังไจมีหลายพวก เช่น ฟังไจที่มีวงจรชีวิตส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดียว ได้แก่ ยีสต์ (yeasts) ฟังไจที่เป็นเส้นสาย เรียกว่าเชื้อรา (mold) บางชนิดเส้นสายอัดกันแน่นเป็นดอกเห็ด (mushroom) ถ้ามีขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็ไม่จัดว่าเป็นจุลินทรีย์ บางระบบ รวมราเมือกไว้ในฟังไจ บางระบบจัดราเมือกเป็น fungus-like protist ในอาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)
เส้นสายของเชื้อรา เรียกว่า ไฮฟา (hypha; พหูพจน์ = hypae) มีการเติบโตโดยไฮฟายืดยาวออกไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นขยุ้มหรือกระจุกของเชื้อราที่เรียก ไมซีเลียม(mycelium; พหูพจน์ = mycelia) มีทั้งส่วนที่อยู่บนผิวหน้าของ substrate ชูขึ้นในอากาศเรียก aerial mycelium ซึ่งมักจะมีส่วนของ reproductive structure อยู่ด้วยในขณะที่ vegetative mycelium เติบโตอยู่ใน substrate ฟังไจบางชนิดมีไรซอยด์(rhizoid) ช่วยดูดซึมอาหาร ส่วนที่เป็นสปอร์ (spore) จะเจริญไปเป็นเส้นใย ซึ่งอาจมีผนังกั้นที่เรียกว่า septum (พหูพจน์ = septa) เรียกเส้นใยที่มีผนังกั้นว่า septate hypha มักเป็นฟังไจที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ส่วนพวกที่เป็นฟังไจชั้นต่ำ เช่น ราน้ำและราบกบางชนิด เส้นสายมักไม่มีผนังกั้น เรียก nonseptate hypha ภายในมีโปรโตปลาสซึมต่อกันตลอดจัดเป็น coenocytic hypha องค์ประกอบของ cell wallของฟังไจ ส่วนใหญ่เป็นไคติน (chitin) แต่บางกลุ่มอาจมีเซลลูโลส (cellulose)
ฟังไจสร้าง spores ได้ทั้งแบบ asexual spore ที่เรียกว่า sporangiospores ภายในsporangium (พหูพจน์ = sporangia) หรือ conidium (พหูพจน์ = conidia) บนปลายสุดของเส้นใย เป็นต้น และ บางชนิดอาจสร้าง sexual spores ที่เรียกว่าzygospores, ascospores ภายใน ascus (พหูพจน์ = asci) และ basidiospores บนโครงสร้าง ที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง ที่เรียกว่า basidium (พหูพจน์ = basidia)เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงสร้างทั่วไป










โครงสร้างทั่วไปของฟังไจ
เซลล์เดี่ยวและไฮฟา (Single cell and hypha)
โครงสร้างของฟังไจแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดและสภาพแวดล้อม
โครงสร้างแบบเซลล์เดี่ยว โครงสร้างแบบเป็นเส้นสาย
ฟังไจสองรูป (Dimorphic fungi)
ฟังไจบางชนิดมีรูปร่างสองแบบ กล่าวคือแบบเซลล์เดี่ยวและแบบเส้นใย ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น
ฟังไจสองรูป ( Histoplasma capsulatum )
อมีบาและพลาสโมเดียม (Amoeba and plasmodium)
ฟังไจบางชนิด เช่น ราเมือก มีรูปร่างในระยะหาอาหารที่คล้ายอมีบาหรือพลาสโมเดียม กินอาหารโดยการโอบล้อมอาหารแล้วกินเข้าไปทั้งก้อน
อมีบา พลาสโมเดียม

ไรซอยด์ (Rhizoid)
ฟังไจในกลุ่มราขนมปังและฟังไจอื่น ๆ อีกบางชนิดสร้างเส้นใยที่มีลักษณะคล้ายรากพืชเรียกไรซอยด์ เกิดขึ้นในบริเวณที่เส้นใยสัมผัสกับอาหาร โดยส่วนของไรซอยด์จะงอกเข้าไปในวัตถุอาหาร เพื่อใช้ช่วยในการยึดเกาะและดูดซึมอาหาร
ไรซอยด์

ฮอสโตเรียม (Haustorium)
ฟังไจพาราสิตบางชนิดสร้างโครงสร้างพิเศษ เพื่อดันเยื่อเมมเบรนของเซลล์เจ้าบ้านให้ยื่นเข้าไปในเซลล์เพื่อดูดซึมอาหารจากเซลล์ของเจ้าบ้าน เรียกโครงสร้างนี้ว่าฮอสโตเรียม ( haustorium; พหูพจน์ = haustoria) ฮอสโตเรียม
ไรโซมอร์ฟ (Rhizomorph)
ไรโซมอร์ฟ ประกอบด้วยเส้นใยจำนวนมาก คาดกันว่าไรโซมอร์ฟช่วยลำเลียงอาหารและแร่ธาตุให้กับเส้นใยในดอกเห็ด ไรโซมอร์ฟ
เส้นใยของฟังไจบางชนิด เมื่อพบกับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิหรือความชื้นต่ำหรือสูงเกินไป จะเข้าสู่ระยะพักตัว โดยเส้นใยบริเวณนั้นจะแตกแขนงสั้น ๆ และสานกันจนกลายเป็นกลุ่มก้อนที่มีรูปร่างและลักษณะจำเพาะของแต่ละสปีชีส์ เรียกแต่ละก้อนว่า สเคลอ-โรเตียม (sclerotium; พหูพจน์ = sclerotia) สเคลอโรเตียม

การสืบพันธุ์


การสืบพันธุ์ ของฟังไจ
การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)
ฟังไจมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ ฟังไจสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการสร้างสปอร์ ซึ่งมีหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของเชื้อและสภาพแวดล้อม แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
• สปอร์ที่สร้างขึ้นมาจากเส้นใยโดยตรง เช่น อาร์โธรสปอร์ (arthrospore) และคลาไมโด-สปอร์ ( chlamydospore) อาร์โธรสปอร์พบในฟังไจชั้นสูงหลายชนิด โดยจะเกิด septum มากั้นส่วนปลายของเส้นใย ทำให้เส้นใยส่วนนั้นหลุดได้เป็นท่อน ๆ เรียกแต่ละท่อนว่า arthrospore สปอร์ชนิดนี้ถ้าสร้างในฟังไจชั้นสูงจะเรียกว่า arthroconidium คลาไมโดสปอร์พบในฟังไจทั่วไปเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยจะเกิดขึ้นจากเซลล์ปกติในบริเวณใดบริเวณหนึ่งของเส้นใย และจะมีผนังที่หนาจึงช่วยให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี
อาร์โธรสปอร์ คลาไมโดสปอร์
• สปอร์ที่สร้างในโครงสร้างพิเศษและพบในฟังไจชั้นต่ำ เช่น สปอแรนจิโอสปอร์ (sporangiospore) เกิดภายในถุงสปอแรนเจียม (sporangium) ตัวอย่างฟังไจที่สร้างสปอแรนจิโอสปอร์ ได้แก่ ฟังไจในไฟลัมไซโกไมโคตา (Phylum Zygomycota ) เช่น ราดำขนมปัง ( Rhizopus )
สปอแรนจิโอสปอร์
ฟังไจชั้นต่ำบางไฟลัมและฟังไจเทียมสร้างสปอร์ที่มี flagellum ซึ่งจะช่วยให้เคลื่อนที่ในน้ำได้ เรียกสปอร์นั้นว่าซูสปอร์ (zoospore) ตัวอย่างฟังไจที่สร้างซูสปอร์ ได้แก่ ฟังไจแท้ในไฟลัม ไคตริดิโอไมโคตา และฟังไจเทียมในอาณาจักรสตรามีโนพิลา และโปรติสตา
ซูสปอร์
• โคนิเดียม (conidium; พหูพจน์ = conidia) เป็นสปอร์ที่เกิดขึ้นแบบไม่อาศัยเพศในฟังไจชั้นสูง โดยจะสร้างบนเส้นใยปกติ หรือบนเส้นใยพิเศษที่เรียกโคนิดิโอฟอร์ (conidiophore) ราบางชนิดมีโครงสร้างพิเศษที่ทำหน้าที่สร้างสปอร์โดยเฉพาะ เรียกโครงสร้างนั้นว่า asexual fruiting body มีรูปร่างหลายแบบ และมีชื่อเฉพาะสำหรับรูปร่างแต่ละแบบ แบบที่มีรูปร่างคล้ายจานเรียกว่า acervulus แบบที่คล้ายคนโฑเรียกว่า pycnidium แบบที่มีรูปร่างคล้ายหมอนอิง (หรือเบาะรองนั่ง) เรียกว่า sporodochium และแบบที่คล้ายช่อดอกไม้เรียกว่า synnema
โคนิเดีย

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)
นอกจากจะมีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศแล้ว ฟังไจยังมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วย การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดขึ้นยากกว่าการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ และต้องการปัจจัยจำเพาะสูง เช่น อาจต้องการสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินบางอย่างเป็นพิเศษนอกเหนือจากชนิดที่ต้องการในระยะเจริญของเส้นใย ความเป็นกรด- ด่างของอาหาร และอุณหภูมิที่เหมาะสมอาจต้องอยู่ในช่วงจำกัดกว่าเดิม ฟังไจบางชนิด แต่ละโคโลนีสามารถสร้างสปอร์แบบอาศัยเพศได้เอง แต่บางชนิดอาจต้องจับคู่กับเส้นใยหรือสปอร์ของโคโลนีอื่นก่อน จึงจะสามารถเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ pseudofungi พวก oomycetes เรียกว่าโอโอสปอร์ (oospore) สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ true fungi พวก zygomycetes เรียกว่าไซโกสปอร์ (zygospore) สปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ true fungi พวก ascomycetes เรียกว่าแอสโคสปอร์ (ascospore) และสปอร์ที่เกิดแบบอาศัยเพศของ true fungi พวก basidiomycetes เรียกว่าเบสิดิโอสปอร์ (basidiospore) โอโอสปอร์ ไซโกสปอร์ แอสโคสปอร์ เบสิดิโอสปอร์