วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จัดทำโดย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/3



นางสาวชนิตร์นันท์ หนันต๊ะ ชื่อเล่น น้ำ


นางสาวธัญญาลักษณ์ เลือกรัมย์ ชื่อเล่น แจ๋ว


นางสาวนิตยา รักษา ชื่อเล่น ปุ๊

นายกิตติพงษ์ สีฉายา ชื่อเล่น อ๊อด


นายพัฒนพงษ์ ทะเรืองรัมย์ ชื่อเล่น โชติ


นายวานิด บ่างสมบูรณ์ ชื่อเล่น ท๊อป

Phylum Ascomycota

Phylum Ascomycota
Phylum Ascomycota เป็น saprobic หรือ symbiotic หรือ parasitic fungi มีทั้งที่เป็นเซลล์เดียวหรือเป็นเส้นสายที่มีผนังกั้น สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศโดยการสร้าง ascospore ภายในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงที่เรียกว่า ascus ตัวอย่างพวกที่เป็นเซลล์เดียว เช่น ascomycetous yeast พวกที่เป็นเส้นสายได้แก่ Eurotium, Neosartorya ซึ่งเป็น sexual stage ของ Aspergillus และ Eupenicillium, Talaromyces เป็น sexual stage ของ Penicillium พวกที่เป็นสาเหตุของโรคราแป้ง (powdery mildews)



Saccharomyces cerevisiae เป็นฟังไจเซลล์เดียว จัดเป็น ascomycetous yeast

Phylum Zygomycota



Phylum Zygomycota
ไฟลัมนี้มี 2 classes ได้แก่ class Zygomycetesและ Trichomycetes
ลักษณะสำคัญของ Zygomycetes คือ มีการสร้างresting spore ที่มีผนังหนา เรียกว่า zygospore ภายใน zygosporangium บางชนิดสามารถเจริญในลักษณะที่เรียกว่า dimorphic คือ เป็นเส้นสาย และเป็นเซลล์ยีสต์ได้ ตัวอย่างเชื้อราใน class นี้ ได้แก่ Rhizopus และ Mucor

Rhizopus oligosporus เจริญบนข้าวสุก




Rhizopus oligosporus เห็นอัปสปอร์ (sporangium) และ ก้านชูอัปสปอร์ (sporangiophore)

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : TechnoInHome

Phylum Chytridiomycota

Phylum Chytridiomycota
Kingdom Fungi
Phylum Chytridiomycota
เซลล์ที่เคลื่อนที่ได้ (motile cells) ซึ่งอาจเป็น ได้ทั้ง zoospore หรือ gametes ก็ได้
ลักษณะสำคัญ คือ เป็น coenocytic structure รูปกลม หรือ รูปไข่ หรือ เป็นเส้นสาย มีการเปลี่ยนแปลงของzygote เป็น resting spore หรือ resting sporangium เป็น diploid thallusผนังเซลล์ประกอบด้วย chitin และ glucan ตัวอย่าง ได้แก่ Synchytrium และ Allomyces

Allomyces



Allomyces ย้อมสี


Synchytrium



Synchytrium ก่อโรคในมันฝรั่ง
ฟังไจ (FUNGI)
ฟังไจเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์เป็นแบบยูแคริโอต ได้อาหารโดยวิธีการดูดซึมสารอาหารจากภายนอก ยกเว้นพวกราเมือก (slime mold) ซึ่งมีการกินอาหารแบบ phagocytosis ด้วย ฟังไจมีหลายพวก เช่น ฟังไจที่มีวงจรชีวิตส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดียว ได้แก่ ยีสต์ (yeasts) ฟังไจที่เป็นเส้นสาย เรียกว่าเชื้อรา (mold) บางชนิดเส้นสายอัดกันแน่นเป็นดอกเห็ด (mushroom) ถ้ามีขนาดใหญ่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็ไม่จัดว่าเป็นจุลินทรีย์ บางระบบ รวมราเมือกไว้ในฟังไจ บางระบบจัดราเมือกเป็น fungus-like protist ในอาณาจักรโปรติสตา (Kingdom Protista)
เส้นสายของเชื้อรา เรียกว่า ไฮฟา (hypha; พหูพจน์ = hypae) มีการเติบโตโดยไฮฟายืดยาวออกไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นขยุ้มหรือกระจุกของเชื้อราที่เรียก ไมซีเลียม(mycelium; พหูพจน์ = mycelia) มีทั้งส่วนที่อยู่บนผิวหน้าของ substrate ชูขึ้นในอากาศเรียก aerial mycelium ซึ่งมักจะมีส่วนของ reproductive structure อยู่ด้วยในขณะที่ vegetative mycelium เติบโตอยู่ใน substrate ฟังไจบางชนิดมีไรซอยด์(rhizoid) ช่วยดูดซึมอาหาร ส่วนที่เป็นสปอร์ (spore) จะเจริญไปเป็นเส้นใย ซึ่งอาจมีผนังกั้นที่เรียกว่า septum (พหูพจน์ = septa) เรียกเส้นใยที่มีผนังกั้นว่า septate hypha มักเป็นฟังไจที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ส่วนพวกที่เป็นฟังไจชั้นต่ำ เช่น ราน้ำและราบกบางชนิด เส้นสายมักไม่มีผนังกั้น เรียก nonseptate hypha ภายในมีโปรโตปลาสซึมต่อกันตลอดจัดเป็น coenocytic hypha องค์ประกอบของ cell wallของฟังไจ ส่วนใหญ่เป็นไคติน (chitin) แต่บางกลุ่มอาจมีเซลลูโลส (cellulose)
ฟังไจสร้าง spores ได้ทั้งแบบ asexual spore ที่เรียกว่า sporangiospores ภายในsporangium (พหูพจน์ = sporangia) หรือ conidium (พหูพจน์ = conidia) บนปลายสุดของเส้นใย เป็นต้น และ บางชนิดอาจสร้าง sexual spores ที่เรียกว่าzygospores, ascospores ภายใน ascus (พหูพจน์ = asci) และ basidiospores บนโครงสร้าง ที่มีรูปร่างคล้ายกระบอง ที่เรียกว่า basidium (พหูพจน์ = basidia)เป็นต้น